วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8



1. ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้  โดยเขียนตามความเข้าใจ
 1.1  การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร    
ตอบ
1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
2. ให้ผู้ชมเข้าเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
  1.2  หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ
1.1 การดึงดูดความสนใจ
1.2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
1.3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาเลือกใช้ต่างกันอย่างงไร
ตอบ      การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายใน กรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฎิกริยาจากผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจ
         การพากย์   เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ

1.4  เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ       งานที่จะนำเสนอ มีทั้งชนิดที่ ใช้กระแสไฟฟ้าและไม่ใช้กระแสไฟฟ้า
เครื่องพิมพ์ ใช้ในการพิมพ์ข้อความ คำอธิบาย เนื้อหาสาระ
 เครื่องเสียงและเครื่องขยายเสียง ใช้ในการบันทึกเสียงหรือ
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ใช้ เป็นเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูลขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ ทำให้ผู้รับสามารถมองเห็นภาพ หรือข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้อใช้ควบคู่กันกับแผ่น(แผ่นพลาสติกใสที่ใช้สำหรับเขียน พิมพ์ ข้อความและหรือพิมพ์ รูปภาพลงไป)

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์นำเสนอ คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถนำมาใช้นำเสนอแทนเครื่องมือดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดีและมี ประสิทธิภาพสูง สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆในหลายรูปแบบ คอมพิวเตอร์ จึงสามารถนำเสนอข้อมูลได้ทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ในการประมวลผล แล้วนำเสนอผ่านอุปกรณ์แสดงผลและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆโดยทั่วไปอุปกรณ์แสดงผล ของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอและพบเห็นกันอยู่ คือ 
-เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีทั้งพิมพ์สีต่างๆ ได้พิมพ์เฉพาะขาวดำ สามารถพิมพ์ข้อความและรูปภาพได้ โดยผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปร่างลักษณะและการทำงานคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์เราสามารถเห็นงาน หรือข้อมูลรูปภาพได้จากหน้าจอ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ


1.5  รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ        ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบดังนี้
            - การนำเสนอแบบ Slide Presentationโดยใช้โปรแกรม Powerpoint  เป็นโปรแกรมนำเสนอผลงานในชุด Microsoft Office เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายมากมีแม่แบบให้เลือกหลายแบบ องค์ประกอบหลักของแต่ละหน้าของการนำเสนอคือ หัวข้อ
โดยใช้โปรแกรม ProShow Gold
ProShow Gold 2.0 เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างแผ่น VCD จากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว หลายคนคงจะมีไฟล์รูปภาพต่าง ๆ เก็บสะสมไว้ และเมื่อต้องการที่จะนำเอาภาพเหล่านั้น มาแปลงให้อยู่ในรูปแบบของแผ่น VCD ที่สามารถนำเอาไปใช้เปิดกับ เครื่องเล่น VCD ทั่วไปได้ ต้องมาลองดูซอฟต์แวร์ตัวนี้ครับ ProShow เป็นซอฟต์แวร์ ที่สามารถนำเอาภาพ มาทำเป็นแผ่น VCD โดยที่สามารถทำการแปลงได้อย่างรวดเร็ว และยังใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย 
โดยทั่วไปแล้ว ซอฟต์แวร์สำหรับการทำแผ่น VCD จากรูปภาพจะมีหลายตัว แต่ที่แนะนำ ProShow เนื่องจากเหตุผลหลักคือ การใช้เวลาทำการแปลงที่รวดเร็วมาก ปกติถ้าเป็นซอฟต์แวร์ตัวอื่น จะใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่ตัว ProShow นี้ใช้เวลาแปลง ไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จแล้ว ภาพที่ได้ก็จัดอยู่ในคุณภาพดี โดยข้อเสียที่พบในตัวโปรแกรมนี้ คือค่อนข้างจะมีความยุ่งยาก ในขั้นตอนของการใช้งานบ้าง แต่ก็ไม่มากมายอะไรนัก
การเตรียมข้อมูลของภาพและเพลงต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มติดตั้งและใช้งาน 
ก่อนอื่น ก็ต้องทำการหาดาวน์โหลดซอฟต์แวร์นี้มาก่อน โดยสามารถหาได้จาก http://www.photodex.com และหารหัส สำหรับการลงทะเบียนจากเว็บไซต์ทั่วไปกันเองครับ จากนั้น สิ่งต่อไปที่จะต้องมีก็คือ ไฟล์รูปภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์ .jpg ก็ได้ และไฟล์ของเพลงที่จะนำมาใส่ประกอบ ซึ่งจะใช้เพลงแบบ MP3 ทั่วไปก็ได้ครับ สุดท้ายก็คือ เครื่องเขียนซีพีหรือ CD-R Writer สำหรับใช้ในการเขียนแผ่น VCD ที่จะได้ เมื่อเตรียมไฟล์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็เริ่มต้น ขั้นตอนการติดตั้งกันได้เลย เริ่มต้นการติดตั้ง โดยการเรียกไฟล์สำหรับติดตั้ง ProShow gold ก่อน

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่7



1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ว่ามีกี่ประเภท
ตอบ : มี 3 ประเภท ที่สร้างขึนเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูล ดังนี้
1.อินทราเน็ต
2.เอกซ์ทราเน็ต
3อินเทอร์เน็ต.

2.อินทราเน็ต ( Intranet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ : ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search Engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์คำสำคัญ หรือคีเวิร์ด เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมจะเริ่มทำงาน

4.จงอธิบายวิธีสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ : ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม
GO บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไป ดังนั้น ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก จำนวนเว็บเพจที่ค้นก็จะยิ่งลดจำนวนลง เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง

5. Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : หมายถึง (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ : 1.เว็บไซต์โครงการ SchoolInet@ 1509
2.เว็บไซต์ LearnOnline

คำถามท้ายหน่วยการเรียน บทที่6


1.อินเตอร์เน็ต(Internet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ หมายถึงเครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ 1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล
2.ทำหน้าที่เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้

3.จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ 1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิง เช่น ฟังเพลง เล่นเกมส์
6.ใช้สื่อสารข้อความโดยการพิมพ์โต้ตอบ
7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อสินค้าและบริการ

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคู่สายโทรศัพท์โดยการแปลงสัญญาณดิจิตอลของคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก แล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์และเปลี่ยนจากสัญญาณอนาล็อกที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ อีกครั้ง 
5.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลกข้อมูลเหล่านี้เชื่อมโยงกันเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย

6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ ประโยชน์ของ Email 
1. ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ง่ายต่อการบริหารจัดการขององค์การ
3. สะดวกในการนำข้อมูลมาใช้
4. ประชาสัมพันธ์องค์การให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ
5. ประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์การ

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่5

1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

2.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1. ระบบเครือข่ายเฉพาะที่ ให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต   ระบบนี้เป็นการเชื่อมโยงกันทั่วโลก สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างหลากหลาย ระบบนี้มีประโยชน์มากมาย เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- mail) การเรียนแบบ  E- learning  เป็นต้น
3.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติ  เป็นระบบที่นำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน มีการนำระบบนี้มาใช้ในการวิจัยเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ มีสมรรถนะในการทำงานที่ดีมาก สามารถทำให้งานวิจัยให้ลุล่วงไปได้ในเวลาอันสั้น

3. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกัน ในองค์กรเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภาย อาคารเดียวกัน  ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น    ตัวอย่าง การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

4.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก

5. ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Network Operating System (NOS) เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มี คุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูล
     ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
เครือข่ายระบบ LAN
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) 
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
เครือข่ายระบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) 
เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
เครือข่ายระบบ WAN

7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
ตอบ มี 2รูปแบบ
1. ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2. ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

เเบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4



1.ซอฟต์แวร์คืออะไร  และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ :  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้น  ชุดคำสั่งเหล่านี้จะจัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำ   คอมพิวเตอร์จะอ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมได้เขียนไว้ 
ทำหน้าที่  เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  :  ซอฟต์แวร์แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ  คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

3.วอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
ตอบ  :  ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการระบบ  หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ การดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ  ของระบบคอมพิวเตอร์

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ :  เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ  เช่น งานพิมพ์เอกสาร
งานพิมพ์รายงาน  วาดภาพ  เล่นเกมส์   หรือโปรแกรมระบบบัญชีรายรับรายจ่าย                                        และเงินเดือน   เป็นต้น

5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ  :  เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง
เช่น  การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์  การจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดิสก์    เป็นต้น

6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ :  โปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างๆกันได้มากมาย   การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มากมาย   เพราะว่ามีการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ตามความถูกต้องของผู้ใช้งาน

7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ :  เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในการจัดการสารสนเทศเรื่องต่างๆ  ได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการ  จำเป็นต้องมีสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์  เราเรียกภาษาสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์

8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร   ทำหน้าที่อะไร
ตอบ  :  เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์   เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ คือ  อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการมี  ดังนี้
-ติดต่อกับผู้ใช้
-ควบคุมการทำงานของโปรแกรม  และอุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล
-จัดสรรให้ใช้ทรัพยากรระบบร่วมกัน

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3


1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีปรโยชน์อย่างไร

ตอบ : คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือ
โปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ
ตัวอักษร และเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างกว้างขวาง
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.มีความเร็วในการทำงานสูง
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโยนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

2.คอมพิวเตอร์มีทีมาอย่างไร

ตอบ : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปี เริ่มจากการสร้างอุปกรณ์ที่ไม่มีกลไกซับซ้อน จนกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีศักยภาพสูงที่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวันในขณะนี้ เพื่อนำมาช่วยงานในการคำนวณประมวลผล และสามารถนำไปใช้ในการควบคุมการผลิตงานทางด้านอุตสาหกรรมในโรงงานต่างๆ

3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ : ส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ
1.หน่วยรับข้อมูลเข้า
2.หน่วยประมวลผลกลาง
3.หน่วยความจำ
4.หน่วยแสดงผล
5.อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ

4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร

ตอบ : กรรมวิธีคอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานมากที่สุด
ส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟต์แวร์ หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล
4.บุคลากร

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร

ตอบ : ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้
จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ส่วนประมวลผล
2.ส่วนความจำ
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์

ตอบ : หน่วยประมวลผลกลาง หรือเรียกคำย่อว่า ซีพียู (CPU)

7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM)และแบบรอม (ROM) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ : หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน จะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ส่วนรอมเป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร

8.จานบันทึกข้อมูล (Hard Disk)ประกอบด้วยอะไรทำหน้าที่อย่างไร

ตอบ : ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น และเครื่องขับจาน เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงานต้องการโดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้น

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์ (Gigabit) พิกเซล (Pixel) จิกะเฮิร์ซ (GHz)

ตอบ : เมกะไบต์ คือ หน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage)ในคอมพิวเตอร์มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์
กิกะไบต์ คือ เป็นหน่วยวัดขนาดในข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิส
พิกเซล คือ เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือจุดภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น
จิกะเฮิร์ต คือ สัญญาณที่มีความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที และมีแวโน้มที่สามารถพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ

10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ : จอภาพ แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่2

      คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่2

1.คำว่า  "ระบบ"  และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ  :  ระบบ  หมายถึง  การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ล่ะงาน  สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน
ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท
วิธีเชิงระบบ  หมายถึง  เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ  ซึ่งจะอาจเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน  เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ : มี  3  ประการ  ได้แก่
1.ปัจจัยนำเข้า ( Input)
2.กระบวนการ  (Process)
3.ผลลัพธ์  (Output)

3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ  :  คือ การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด  และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหาร  และการตัดสินใจ
ทั้งในระดับปฏิบัติการ  ระดับกลาง  และระดับสูง   ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น  เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ  ได้แก่อะไร
ตอบ :  องค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่
ระบบความคิด     ระบบเครื่องมือ

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย  ด้านขั้นตอน  และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ :   ด้านจุดมุ่งหมาย  มี  4  ประการ  ได้แก่
-ข้อมูล  - สารสนเทศ    -ความรู้    -ปัญหา
ด้าสารสนเทศทั่วไปมี  5  องค์ประกอบ  ดังนี้
-ข้อมูลคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
-ข้อมูล
-สารสนเทศ
-โปรแกรมหรือซอฟแวร์
-บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์

6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดการอย่างไร
ตอบ  : ประกอบด้วย 3  ขั้นตอน  ดงนี้
ขั้นตอนที่1  การวิเคราห์ระบบ
ขั้นตอนที่2  การสังเคราะห์ระบบ
ขั้นตอนที่3  การสร้างแบบจำลอง

7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล  ระดับกลุ่ม   กันระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ :  ระดับบุคคล  คือ  ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ
ระดับกลุ่ม  คือ  ระบบสารสนเทศที่เสริมสร้างการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระดับองค์กร  คือ  ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม  เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก

8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร  มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ  :  ข้อมูล  คือ  ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้  มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ  เหตุการณ์หรือสถานการณ์  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเอง
ความรู้  คือ  เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา  กระบวนการ  และขั้นตอน  อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆหรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล   คุณสมบัติของความรู้อาจได้ทั้งประโยชน์และโทษต่อตนเอง  สังคม   และสิ่งแวดล้อม
เกี่ยวข้องคือเป็นปัจจัยหนึ่งของระบบสารสนเทศ

9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ : 1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1.1การรวบรวมข้อมูล
1.2การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
1.3การจัดการข้อมูล
1.4การควบคุมข้อมูล
1.5การสร้างสารสนเทศ
2.วิธีการเก็บข้อมูล
2.1การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
2.2การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.3การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง

10.จงกล่าวถึงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ :  นิยมแบ่งเครือข่ายตามขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานได้แก่
1.แลน  คือ  เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.แวน  คือ   เครือข่ายบริเวณกว้าง
3.อินเตอร์เน็ต   คือ  เครือข่ายขนาดใหญ๋

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียน คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1


1.จงให้ความหมายขอคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการต่างๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับการตีความ จำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเอง สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น

2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย 

3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies –ICT) เกิดจาก ในปัจจุบันกระแสโลกยุคโลกาภิวัฒน์แผ่อิทธิพลไปทั่วโลกทำให้โลกได้รับข้อมูลข่าวสาร สามารถเชื่อมโยงกันได้แบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วทุกมุมโลก โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น ดาวเทียม โทรศัพท์ เป็นต้น นำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความสะดวกในการสื่อสาร มีความรวดเร็วมากขึ้น เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technologies –ICT)  

4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนักงาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวัน
   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน ช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและการติดต่อสื่อสารทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในงานแทบทุกสาขาอาชีพ ซึ้งส่งผลให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว

5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI) หมายถึงอะไรและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผลการปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น
  • การเรียนรู้ของเครื่อง นั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการอุปนัยของ จอห์น สจวร์ต มิลล์ นักปรัชญาชื่อดังของอังกฤษ มาใช้
  • เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอยหรือ การปรับเส้นโค้ง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง
6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน 
7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ในการใช้งานควรมีลักษณะดังนี้
ด้านเนื้อหา
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง
- ความถูกต้อง
- ความเชื่อถือได้
- การตรวจสอบได้
ด้านรูปแบบ
- ชัดเจน
- ระดับรายละเอียด
- รูปแบบการนำเสนอ
- สื่อการนำเสนอ
- ความยืดหยุ่น
ด้านประสิทธิภาพ
- ประหยัด
- เวลา
- ความเร็วและทันต่อเหตุการณ์
- การปรับปรุงให้ทันสมัย
- มีระยะเวลา
ด้านกระบวนการ
- ความสามารถในการเข้าถึง
- การมีส่วนร่วม
- มีระยะเวลา

8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีอยู่มากมายหลายอย่าง เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์  วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์  โทรสารล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีเครื่องกลหรือกลไก เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ  การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น

9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ กระแสโลกาภิวัฒน์  ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนการเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน  ในทุกสาขาอาชีพ เช่น  การสื่อสาร  การธนาคาร  การบิน วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์  การศึกษา  หรือการเรียนการสอน  ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของโลกได้ทันเหตุการณ์   สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่  เช่น การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ  รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล   สืบค้นข้อมูล   ฟังเพลง   รวมถึงการประยุกต์ใช้  ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ต่อการดำรงชีวิต การศึกษา และการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะ  และสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ไปพร้อมๆ กัน

10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ 
ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-       เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Operation Efficiency)
-       เพิ่มผลผลิต (Function Effectiveness)
-       เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า (Quality Customer Service)
-      ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต (Product Creation and Enhancement)
-      สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้ (Altering the basic of competition)
-      สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Identifying and Exploiting Business Opportunities)
-     ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง (Client Lock-In/Competitor Lock-Out)จากเป้าหมายทั้ง7ประการของเทคโนโลยีสารสนเทศถ้าสามารถดำเนินการได้ตามเป้หมายดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบนี้ได้ทั้งหมด
ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-    วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย

-  ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

-   ก่อให้เกิดช่องว่าง (Gap) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย